top of page

โครงการจัดประชุมและนำเสนอผลงานทางวิชาการ
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2556
หัวข้อ “ภูมิสังคมล้านนาในกระแสการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน”
วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ณ ห้องประชุมอาคารรวมวิจัยและบัณฑิตศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



หลักการและเหตุผล
          สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งดำเนินงานศึกษาค้นคว้าและร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการวิจัยเกี่ยวกับล้านนาศึกษา การวิจัยทางสังคมศาสตร์และการวางแผนพัฒนา และเพื่อเป็นศูนย์กลางการบริการด้านวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ รวมถึงสนับสนุนการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาในการศึกษาค้นคว้าและทำวิจัย โดยเริ่มจัดตั้งขึ้นเป็นศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 และยกฐานะเป็นสถาบันวิจัยสังคมในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถาบันวิจัยสังคมได้ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณค่าและให้บริการวิชาการแก่ชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ปณิธานที่ต้องเป็นแหล่งให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคมและชุมชนทั้งด้านสังคมศาสตร์และล้านนาคดี

          ปัจจุบันสถาบันวิจัยสังคมขับเคลื่อนงานวิจัยโดยกลุ่มงานต่างๆ สี่กลุ่มงาน ประกอบด้วย กลุ่มงานล้านนาคดี กลุ่มท้องถิ่นและภูมิภาคศึกษา กลุ่มศึกษาปัญหาสังคม และกลุ่มศึกษาเมืองและสิ่งแวดล้อม    ในประเด็นงานวิจัยที่มีความแตกต่างหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและสังคม โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ คือ “เป็นผู้นำในการศึกษาวิจัยและบริการวิชาการเพื่ออนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ ภูมิสังคมล้านนาสู่ประชาคมอาเซียน” ซึ่งได้บูรณาการการดำเนินงานวิจัยกับหน่วยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงและก้าวทันต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน

         ดังนั้น เพื่อให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา รวมทั้งบุคคลที่สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ และมีเวทีการนำเสนอผลงานวิจัย รวมทั้งขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและบริการวิชาการ อันจะเป็นการส่งเสริมให้งานวิจัยด้านสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์นำไปสู่การประยุกต์ใช้ผลงานให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในวงกว้างต่อไป  สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงจะจัดประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการ ประจำปี พ.ศ. 2556 ในวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 โดยได้กำหนดหัวข้อหลักของการประชุมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กร คือ “ภูมิสังคมล้านนาในกระแสการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน” และหัวข้อย่อยเพื่อการนำเสนอผลงานวิชาการ 4 หัวข้อที่มีความหลากหลายสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 

 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้นำเสนอผลงานวิจัย
2. เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัย
3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและบริการวิชาการ



วันและเวลา
วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
เวลา 08.00-18.00 น.



สถานที่จัดประชุมวิชาการ
ห้องประชุมใหญ่ และห้องประชุมเล็ก อาคารรวมวิจัยและบัณฑิตศึกษา
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เลขที่ 239  ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่



ผู้เข้าร่วมประชุม
คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันการศึกษา หน่วยงานอื่นๆ และบุคคลที่สนใจทั่วไป จำนวน 200 คน



ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ได้นำเสนอเผยแพร่สู่แวดวงวิชาการและสาธารณชนอีกทางหนึ่ง
2. มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์งานวิจัยร่วมกันของผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ
3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและบริการวิชาการที่กว้างขวาง

ผู้รับผิดชอบโครงการ
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทรศัพท์ 053-942574, 053-942562  โทรสาร 053-942572, 053-892649 
โทรศัพท์มือถือ 087-1769893, 084-6095906
Email: sricmu@hotmail.com
Website: http://sricmu.wix.com/event
Face book (Page): http://www.facebook.com/SRIinCMU

กิจกรรมการดำเนินงาน
1. การบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีผลงานที่โดดเด่น
2. การนำเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยาย (Oral presentation) และแบบโปสเตอร์ (Poster presentation) โดย คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลที่สนใจทั่วไป
3. การมอบเกียรติบัตรแก่ผู้นำเสนอบทความ

หัวข้อการประชุมและการนำเสนอผลงาน
การประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้กำหนดหัวข้อหลักในการประชุม คือ “ภูมิสังคมล้านนาในกระแสการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน”

และกำหนดหัวข้อย่อยในการประชุมนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
1. การพัฒนาเมืองและปัญหาสิ่งแวดล้อม
2. การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว
3. ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมล้านนา
4. คุณภาพชีวิตและแรงงาน (เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หนี้สิน และ HIV/AIDS)
5. อื่นๆ

อัตราค่าลงทะเบียน
ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 ถึงวันที่ 12 เมษายน 2556
  - นักศึกษา    300 บาท
  - คณาจารย์ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป 500 บาท
ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 13 เมษายน 2556 ถึง 30 เมษายน 2556
  - นักศึกษา    500 บาท
  - คณาจารย์ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป 800 บาท
ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมจะได้รับถุงผ้าลดโลกร้อน บรรจุเอกสารพร้อมกับซีดีไฟล์เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ

วิธีการชำระเงิน
1. ชำระโดยเงินสด ณ สำนักงานสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันและเวลาราชการ
2. ชำระโดยโอนเงินค่าลงทะเบียนผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชีสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เลขที่บัญชี 667-2-18821-4
ระบุว่าชำระค่าลงทะเบียนงานประชุมวิชาการสถาบันวิจัยสังคม ประจำปี พ.ศ. 2556

แล้วแฟกซ์ใบ  Pay-in มายังโทรสารหมายเลข 053-942572, 053-892649 

หรือ Email: sricmu@hotmail.com



 

bottom of page